คำอธิบายรายวิชา
1) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสำนักความคิดและทฤษฎีที่มีอยู่หลากหลายในศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สามารถแจกแจงใจความหลักของแต่ละสำนัก แก่นความสนใจ รวมถึงมุมมองต่อโลกและการฉายภาพปรากฏการณ์ ทราบถึงที่มาของแนวคิดทั้งในแง่ นักคิดคนสำคัญ ปรัชญาพื้นฐานและบริบทเชิงประวัติศาสตร์
2) ผู้เรียนสามารถเทียบเคียงความแตกต่างของสำนักความคิดต่างๆ เข้าใจประเด็นถกเถียงในแต่ละยุคสมัยที่ผลักดันพัฒนาการในศาสตร์ รวมถึงมองเห็นประโยชน์และคุณค่าของแต่ละสำนักความคิดในการวางกรอบการศึกษา กรอบพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3) ผู้เรียนมีความคิดเชิงวิพากษ์ต่อกรอบแนวคิดต่างๆ สามารถตั้งคำถามและข้อโต้แย้งบนพื้นฐานทฤษฎี มองเห็นข้อจำกัดของสำนักความคิดต่างๆ รวมไปถึงอุปสรรคในการเข้าใจโลกผ่านการตีกรอบทฤษฎีการจัดแบ่งสำนักและการยึดติดกับมุมมองใดมุมมองหนึ่ง
4) ผู้เรียนสามารถนำกรอบแนวคิดและทฤษฎีไปประยุกต์เพื่อวิเคราะห์และมีความปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่หลากหลายได้อย่างมีหลักการ